วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Real time GPS Sensor ช่วยให้การเตือนภัยแผ่นดินไหวทำได้เร็วขึ้น


Real time GPS Sensor ช่วยให้การเตือนภัยแผ่นดินไหวทำได้เร็วขึ้น

             เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 ที่ผ่านมานี้ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา ความรุนแรง 8.6 ริกเตอร์ เหตุการณ์สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ผู้คนจำนวนมาก และเนื่องจากความทรงจำของผู้คนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งของเหตุการณ์เมื่อ 8 ปีที่แล้วที่ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง และคลื่นสึนามิ ยังคงติดอยู่ในความทรงจำ จึงทำให้ผู้คนต่างตระหนกว่าคลื่นสึนามิจะมาหาพวกเขาอีกหรือไม่
            ระบบการคำนวณความแม่นยำสูงของ GPS sensors ซึ่งขณะนี้กำลังถูกทดสอบในที่ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดแผ่นดินไหวในหลายๆ ที่อยู่ในขณะนี้ สามารถที่จะช่วยบรรเทาความตระหนกตกใจของผู้คนได้ เพราะระบบนี้สามารถช่วยแจ้งเตือนในทันทีที่เิิกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น ซึ่งจะช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่่างมาก
ระบบแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหวที่ทั่วโลกใช้อยู่ในขณะนี้ จะทำงานโดยการตรวจจับคลื่นสั่นสะเทือนซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก แต่ระบบจะทำการตรวจจับได้เฉพาะคลื่นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเกิน 7  ริกเตอร์เท่านั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการประเมินผลที่ผิดพลาดหรือต่ำกว่าความเป็นจริงได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง
แต่ระบบการเตือนภัยแบบใหม่นี้ เกิดจากการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงกันในการทำงานของกลุ่มนักวิจัยหลากหลายกลุ่มทั่วโลกโดยใช้ real-time GPS sensors ซึ่ีงจะระบุตำแหน่งของพวกเขาทุกๆ วินาที เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น Sensor ก็จะตรวจจับได้โดยแม่นยำ ว่าแผ่นเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนตัวแบบใด
Richard Allen ผู้นำการวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ กล่่าวว่า ถ้าเราเห็นว่ารอยเลื่อนนั้นเป็นทางยาว เราก็สามารถที่จะทราบได้เลยว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้จะมีความรุนแรง
โดยระบบใหม่นี้ก็จะช่วยให้เราสามารถทราบได้ถึงความระดับรุนแรงของแผ่นดินไหวได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว พร้อมกับช่วยให้สามารถประเมินถึงพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวได้ทันทีว่าครอบคลุมไปถึงพื้นที่ใดบ้าง ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากเพราะช่วยให้ผู้คนสามารถหาที่หลบภัยและป้องกันตัวได้ก่อนที่คลื่นสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวจะมาถึง ซึ่งระบบนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งและมีความรุนแรง
ที่มา : NewScientist.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น